รูปภาพประกอบ
วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การใช้ประโยชน์จากดอกดาวเรือง
การใช้ประโยชน์จากดอกดาวเรือง
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญ
ทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมี ความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
1.
ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม ดาวเรืองเป็นได้ดอกที่มีความ สวยงาม
กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะ
สำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและ สถานที่ต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ2. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่น เหม็น (ฉุน) แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็น เกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่ง ที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
3. ปลูกเพื่อจำหน่าย
3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับ คล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรือง สำหรับใช้ประโชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น หรือเหลือเฉพาะดอก
3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่มีลักษระกลมเรียงตัวกันแน่นเป็น ระเบียบและมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมา ปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะ รับแขก ตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบ โต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมา ปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18 - 20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคาร สถานที่กันมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประดับ ไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทาน ปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคาร บ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ ในด้านนี้ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรือง โดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถาง หรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลงดอก ดาวเรืองเริ่มบานก็นำไปใช้ประโยชน์หรือ จำหน่ายได้
3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่มี สารแซธโธฟีล (Xanthophyll) สูง เมื่อตากให้แห้งจะสามารถนำไปเป็นส่วนผสม อาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีดอกสีส้มแดง
ที่มา http://www.dmc.tv/pages/scoop/
สรรพคุณของดอกดาวเรือง
สรรพคุณของดาวเรือง
ใบ : รสชุ่มเย็น
มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง
บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
ช่อดอก : รสขม
ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน
หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแก้ปวดฟัน
ตำรับยา
1. แก้ไอกรน ใช้ช่อดอกสด 15 ช่อ ต้มเอาน้ำมาผสมน้ำตาลแดงกิน
2. แก้หลอดลมอักเสบ ใช้ช่อดอกสด 30 กรัม กับจุยเฉี่ยวเอื้อง
(Inula Helianthus-aquatilis C.Y. Wuex Ling) สด 10 กรัม และจี๋อ้วง (Astertataricus L.F.) สด 7 กรัม ต้มน้ำกิน
3. แก้เต้านมอักเสบ
ใช้ช่อดอกแห้งเต่งเล้า (paris petiolata Bak. ex. Forb.) แห้งและดอกสายน้ำฝึ้ง (Lonicera
japonica Thunb) แห้งอย่างละเท่า
ๆ กัน บดเป็นผงผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็น
4. แก้ปวดฟัน ตาเจ็บ ใช้ช่อดอกแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำกิน
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ในใบมี Kaempferitrin มีฤทธิ์แก้อักเสบให้หนูตะเภากินขนาด 50 มก./กก. ของน้ำหนักตัวจะทำให้หลอดเลือดฝอยตีบตันทำให้เลือดหยุด
เนื้อหนังเจริญดีขึ้น มีฤทธิ์แรงกว่ารูติน (Rutin) และมีปริมาณวิตามินพี (Vitamin
P) ค่อนข้างสูง
นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก ที่แยกจากตัวของกระต่าย
ทำให้จังหวะการบีบตัวลดลง
2. ดอกมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นได้
เคยใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค และสงบประสาท เช่นเดียวกับต้น Tagetes minuta L. (T. glandif lora) ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย
มีฤทธิ์สงบประสาท ลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด หลอดลม และแก้อักเสบ
ที่มา http://www.dmc.tv/pages/scoop/
การดูแลรักษาดอกดาวเรือง
การดูแลรักษาดอกดาวเรือง
การรดน้ำ ในช่วงเริ่มปลูกจนต้นดาวเรืองมีอายุได้ 7 วัน เกษตรกรควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ทุก ๆ เช้าและเย็น และหลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำวันละครั้งเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น และในช่วงดอกดาวเรืองเริ่มบานเกษตรกรจะต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรืองเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
การใส่ปุ๋ย
เมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 15วัน และ 25 วัน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15
อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ 35 วัน และ 45 วัน
เกษตรกรควรทำการใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน
โดยใส่ให้ห่างโคนต้นดาวเรืองประมาณ 6 นิ้ว ฝังปุ๋ยลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว
จากนั้นให้เกษตรกรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นดาวเรืองและกลบโคนต้นไว้และทำการรดน้ำให้โชก
การปลิดยอด
หรือที่เรียกกันว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้มนั่นเอง ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่เกษตรกรควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุได้ประมาณ
21-25 วัน
ใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง
เพื่อให้ยอดหลุดออกมา
ข้อควรระวังคือเกษตรกรไม่ควรเด็ดยอดเพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง
ทำให้ดอกดาวเรืองบานไม่พร้อมกันและมีดอกดาวเรืองจะมีขนาดเล็ก
การปลิดตาข้าง
หลังจากที่เกษตรกรทำการปลิดตายอดประมาณ 7 วัน
เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้เกษตรกรทำการปลิดตาข้างออกให้หมด
เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว
และมีขนาดสม่ำเสมอ
ที่มา http://www.dmc.tv/pages/scoop/
แมลงสำคัญของดอกดาวเรือง
แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน
ทำให้ใบหงิกงอแล้วห่อขึ้นไม่ แตกใบใหม่ จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก
จะพบเห็นมากในตอนกลางวัน ตัวเรียวเล็ก สีน้ำตาล ส่วนมากพบใต้ใบ
ใช้สารเคมีพ่นกำจัดเพลี้ยไฟทุกๆ 5-7 วัน หากระบาดมากทุกๆ 2-3 วัน โดยมากในช่วงหลังฝนตก
ที่มีความชื้นสูง และอากาศร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นในช่วงสาย และช่วงบ่าย
หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เพราะตัวยาบางชนิดจะทำให้ใบไหม้ได้
(มีระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
หนอนชอนใบ
ทำลายใบอ่อนตัวหนอนที่ฟักจากไข่ไชชอนเป็นทางยาวหรือ สร้างอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายในใบที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระ แกรน
บิดเบี้ยว
หนอนกัดใบ
และหนอนผีเสื้อ
หนอนกระทู้หอม หนอนจะกัดกินดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหาย
เข้าทำลายในขณะทีดอกเริ่มบาน หนอนเหล่านี้เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน
ดังนั้นนิสัยการออกหากินจะเป็นช่วงเวลากลางคืน
การใช้สารเคมีชนิดถูกตัวตายจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ช่วงเวลาที่เหมาะสมมี 2
เวลาคือ ใกล้ช่วงเช้าประมาณตี 2 หรือทุกๆเช้าช่วง 6 โมงถึง 7 โมง เช้า หรือ 1 ทุ่ม
ถึง 3 ทุ่ม จะเหมาะสมกว่า หนอนกัดใบ และหนอนผีเสื้อจะมีการขยายพื้นที่หา
กินจากจุดศูนย์กลาง และเคลื่อนย้ายไปตามที่อื่นๆ ที่มีอาหาร(ใบ ลำต้น ดอก)
ดังนั้นเรา อาจพ่นเป็นจุด หรือพ่นรอบๆพื้นที่เสียหาย และมีการตรวจสอบทุกระยะ
หากการทำลาย ยังมีอยู่จำเป็นต้องฉีดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง (ระบาดในช่วงตุ่มดอก)
ไรแดง
ไรแดง ไรแดงพบมากในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัด พบมากในส่วนใต้ ใบ และจะ
ลามไป ทั้งแปลง ไรแดงมีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก
สีแดงชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุม คลุมทั้งต้น
ใบพืชที่โดยทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง แล้วทำให้ใบหงิกงอห่อลงช่วงเวลาการพ่นสารเคมีในช่วง
สายและช่วงบ่าย จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด (มักระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด)
ที่มา http://www.dmc.tv/pages/scoop/
โรคของดอกดาวเรือง
โรคของดอกดาวเรือง
โรคใบจุด Alternaria
sp.
อาการ
ใบเริ่มมีอาการใบจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื้อตรงกลางแผล
จะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อ
ใบที่มีแผลหลายแผลจะค่อยๆแห้งร่วงหล่น ทำให้ต้นทรุดโทรม
(ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคดอกเน่า
Colletotrichum sp.
อาการ
โดยดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล
โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบาน ได้
หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่ากลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ
ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น
(ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคเหี่ยวเหลือง Fusarium
sp.
อาการ
เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง
แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น
ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย
ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น
ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก
40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
ที่มา http://thongchaloem.makewebeasy.com/
การปลูกดอกดาวเรือง
การปลูกดอกดาวเรือง
1. ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร
รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน
2. ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย
เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
3. นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด
) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย
เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
4. หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก
เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค
5. เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน
โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ? นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย
6. ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน
ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่
จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้
แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่
ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง
7. หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง
เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว
ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน
คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่
8. หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้
ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น
ที่มา http://www.dmc.tv/pages/scoop/
2. ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย
เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
3. นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด
) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย
เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
4. หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก
เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค
5. เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน
โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ? นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย
6. ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน
ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่
จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้
แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่
ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง
7. หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง
เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว
ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน
คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่
8. หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้
ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)